วันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

กิจกรรมที่ 5



ให้นักศึกษาศึกษารายะเอียดพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา  แล้วตอบคำถาม

1. พรบ.สภาครูฯ 2546 ประกาศใช้และบังคับเมื่อใด
     พรบ. สภาครูฯ 2546 ประกาศ 11 มิถุนายน 2546 บังคับใช้ 12 มิถุนายน 2546

2. ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูออกให้แก่ใครบ้าง
     ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูออกให้แก่ออกให้แก ครู ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา และบุคคลากรทางการศึกษาอื่นๆ

3. คุรุสภามีวัตถุประสงค์อะไรบ้าง
    มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญดังนี้
           1.กำหนดมาตรฐานวิชาชีพ ออกและเพิกถอนใบอนุญาต กำกับดูแลการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งการพัฒนาวิชาชีพ
           2. กำหนดนโยบายและแผนพัฒนาวิชาชีพ 
           3. ประสาน ส่งเสริมการศึกษาและการวิจัยเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ

4. อำนาจหน้าที่คุรุสภา มีอะไรบ้าง
     อำนาจของครุสภามีดังนี้
             1. กำหนดมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ
             2. ควบคุม ความประพฤติและการดำเนินงานของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาให้เป็นไปตามมาตรวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ
             3. ออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ขอประกอบวิชาชีพ
             4. พักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาต
             5. สนับสนุนส่งเสริมและพัฒนาวิชาชีพตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ
             6. ส่งเสริม สนับสนุน ยกย่อง และผดุงเกียรติผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
             7. รับรองปริญญา ประกาศนียบัตร หรือวุฒิบัตรของสถาบันต่าง ๆ ตามมาตรฐานวิชาชีพ
             8. รับรองความรู้และประสบการณ์ทางวิชาชีพ รวมทั้งความชำนาญในการประกอบวิชาชีพ
             9. ส่งเสริมการศึกษาและการวิจัยเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ
            10. เป็นตัวแทนผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาของประเทศไทย
            11. ออกข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วย
                  (ก) การกำหนดลักษณะต้องห้ามมาตรา 13
                  (ข) การออกใบอนุญาต อายุใบอนุญาต การพักใช้ใบอนุญาต การเพิกถอนใบอนุญาต และการรับรองความรู้ ประสบการณ์ทางวิชาชีพ ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพ
                  (ค) หลักเกณฑ์และวิธีการในการขอรับใบอนุญาต
                  (ง) คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ขอรับใบอนุญาต
                  (จ) จรรยาบรรณของวิชาชีพและการประพฤติผิดจรรยาบรรณอันจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ
                  (ฉ) มาตรฐานวิชาชีพ
                  (ช) วิธีการสรรหา การเลือก การเลือกตั้ง และการแต่งตั้งคณะกรรมการคุรุสภาและคณะกรรมกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ
                 (ซ) องค์ประกอบ หลักเกณฑ์ วิธีการคัดเลือกคณะกรรมการสรรหา
                 (ฌ) หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาเลขาธิการคุรุสภา
                 (ญ) การใด ๆ ตามที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้
          12. ให้คำปรึกษาหรือเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบายหรือปัญหาการพัฒนาวิชาชีพ
          13.ให้คำแนะนำหรือเสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ หรือการออกกฏกระทรวง ระเบียบ และประกาศต่าง ๆ
          14. กำหนดให้มีคณะกรรมการเพื่อกระทำการใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของคุรุสภา
          15. ดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของคุรุสภา ข้อบังคับของคุรุสภาตาม (11) นั้น ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรี และเมื่อได้ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาและให้ใช้บังคับได้

5. คุรุสภาอาจมีรายได้มาจากแหล่งใด
             1. ค่าธรรมเนียมตามพระราชบัญญัตินี้
             2. เงินอุดหนุนจากงบประมาณแผ่นดิน
             3. ผลประโยชน์จากการจัดการทรัพย์สินและการดำเนินกิจการของคุรุสภา
             4. เงินและทรัพย์สินซึ่งมีผู้อุทิศให้แก่คุรุสภา
             5. ดอกผลของเงินและทรัพย์สินตามข้อ 1, 2, 3, 4

6. คณะกรรมการคุรุสภามีกี่คน ใครเป็นประธาน
   39 คน ประธานมาจาก ครม.แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ กฎหมาย

7. กรรมการคุรุสภาที่มาจากผู้แทนตำแหน่งครูต้อง ประกอบด้วย
     กรรมการคุรุสภาที่มาจากผู้แทนตำแหน่งครูจะต้องประกอบด้วยดังนี้
           1.ใบอนุญาตและไม่เคยถูกพักใช้
           2. ปฏิบัติการสอนมาไม่น้อยกว่า 10 ปี
           3.ดำรงตำแหน่งอาจารย์ 3 ไม่ต่ำกว่าวิทยฐานะชำนาญการ

8. คณะกรรมการคุรุสภามีหน้าที่ อะไร ได้แก่
    มีหน้าที่ดังนี้
            1.บริหารและดำเนินการตามวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของคุรุสภาซึ่งกำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้
            2.ให้คำปรึกษาและแนะนำแก่คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ
            3. พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งของคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพตามมาตรา 54
            4. เร่งรัดพนักงานเจ้าหน้าที่ส่วนราชการ หรือคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ ปฏิบัติตามอำนาจและหน้าที่ที่กฏหมายกำหนด
             5. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อกระทำการใด ๆ อันอยู่ในอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการคุรุสภา
             6. ควบคุม ดูแล การดำเนินงาน และการบริหารงานทั่วไป ตลอดจนออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือข้อกำหนดเกี่ยวกับสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ในเรื่องดังต่อไปนี้
                 (ก) การจัดแบ่งส่วนงานของสำนักงานเลขาธิการคุรุสภาและขอบเขตหน้าที่ของส่วนงานดังกล่าว
                 (ข) การกำหนดตำแหน่ง คุณสมบัติเฉพาะ อัตราเงินเดือน ค่าจ้าง และค่าตอบแทนอื่นของพนักงานเจ้าหน้าที่คุรุสภา
                 (ค) การคัดเลือก การบรรจุ การแต่งตั้ง การถอดถอน วินัย และการลงโทษของเจ้าหน้าที่ รวมทั้งวิธีการ เงื่อนไขในการจ้างพนักงานเจ้าหน้าที่ของคุรุสภา
                 (ง) การบริหารและจัดการการเงิน การพัสดุ และทรัพย์สินของคุรุสภา
                 (จ) กำหนดอำนาจหน้าที่และระเบียบเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ตรวจสอบภายใน
            7. กำหนดนโยบายการบริหารงาน และให้ความเห็นชอบแผนการดำเนินงานของสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา
            8. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฏหมายกำหนดไว้ให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการคุรุสภา
            9. พิจารณาหรือดำเนินการในเรื่องอื่นตามที่รัฐมนตรีมอบหมาย

9. คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพมีกี่คน ประธานคือใคร หน้าที่สำคัญ
     คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพมี17 คน ประธาน คือ รมต.แต่งตั้งจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคุรุสภา หน้าที่สำคัญคือพิจารณาการออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา และการพักใช้ หรือเพิกถอนใบอนุญาต

10. ผู้เป็นเลขาธิการคุรุสภา จะต้องมีอายุไม่เกิน
       เลขาธิการคุรุสภาต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 30 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 65 ปี

11. ผู้ที่ไม่ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ประกอบด้วยใคร ยกตัวอย่างประกอบ
      ประกอบด้วย วิทยากร ผู้สอนตามอัธยาศัย ครูฝึกสอน ผู้บริหารระดับเหนือเขตพื้นที่การศึกษา ครูผู้บริหารระดับปริญญาทั้งรัฐและเอกชน เช่นผู้ที่เข้ามาให้ความรู้แก่ผู้เรียนในสถานศึกษาเป็นครั้งคราวในฐานะวิทยากรพิเศษทางการศึกษา

12. คุณสมบัติผู้ขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู มีอะไรบ้าง
       คุณสมบัติ
              1. มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์
              2. มีวุฒิปริญญาทางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือมีคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง
              3. ผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษา
เป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด

13. หากคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพไม่ออก ไม่ต่อใบอนุญาต ต้องจัดกระทำอย่างไร
       ต้องอุทธรณ์คำสั่งต่อคณะกรรมการคุรุสภา ภายใน 30 วัน

14. มาตรฐานวิชาชีพ ประกอบด้วย มาตรฐานอะไร
       มาตรฐานวิชาชีพ ประกอบด้วย
1. มาตรฐานความรู้และประสบการณ์
2. มาตรฐานการปฏิบัติงาน
3. มาตรฐานการปฏิบัติตน

15. มาตรฐานการปฏิบัติตน ประกอบด้วยอะไร
       มาตรฐานการปฏิบัติตน ประกอบด้วย
1.จรรยาบรรณต่อตนเอง
2.ต่ออาชีพ
3.ต่อผู้รับบริการ
4. ต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
5.ต่อสังคม

16. คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพอาจวินิจฉัย มีหน้าที่
               1.  ยกข้อกล่าวหา
               2.  ตักเตือน             
               3.  ภาคทัณฑ์             
               4.  พักใช้ใบอนุญาตมีกำหนดตามที่เห็นสมควรแต่ไม่เกิน  ๕  ปี             
               5.  เพิกถอนใบอนุญาต

17. สมาชิกคุรุสภามี กี่ประเภทประกอบด้วย
      สมาชิกของคุรุสภามี 3 ประเภท คือ
1. สมาชิกสามัญ
2. สมาชิกวิสามัญ
3. สมาชิกสมทบ

18. สมาชิกภาพของสมาชิกคุรุสภาสิ้นสุดอย่างไร
               1. ตาย
               2. ลาออก
               3. คณะกรรมการคุรุสภามีมติให้พ้นจากสมาชิกภาพเพราะขาดคุณสมบัติตามมาตรา 59 สำหรับกรณีสมาชิกสามัญ
               4. คณะกรรมการคุรุสภามีมติถอดถอนการเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์
               5. ถูกเพิกถอนใบอนุญาต


19. สกสค.ย่อมาจาก อะไร
      คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา

20. สกสค.มีกี่คน ใครเป็นประธาน
       มีทั้งหมด23 คน  ประธานคือ รมต.ศธ. นิติบุคคลในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ

21. ผู้ใดสอนโดยไม่มีใบอนุญาตจะต้องถูกดำเนินการอย่างไร
       จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

22. ผู้ใดถูกพักใช้หรือแสดงตนว่ามีใบอนุญาตโดยเป็นเท็จมีโทษเป็นอย่างไร
       จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

23. ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พรบ.สภาครูฯ2546 คือ ใคร
       พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

24. อัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู เป็นอย่างไร
      ต่อ/แทน , รอง , นาญ , ขึ้น = 200 , 300 , 400 . 500 บาท หมายถึง ค่าต่อใบอนุญาตหรือใบแทนใบอนุญาต 200 บาท , ใบรับรอง 300 บาท , แสดงความชำนาญการ 400 บาท , ขึ้นทะเบียนใหม่ 500 บาท

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น